ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตามบ้านเรือนจะมีถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่หมดอายุ โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ตที่ไม่ใช้แล้ว ถูกทิ้งเป็น”ขยะอันตราย” ในบ้าน ไม่นำไปทิ้งจุดทิ้งของเสียอันตราย บางบ้านนำขยะอันตรายทิ้งปะปนกับมูลฝอยทั่วไป เกิดการรั่วไหลของสารพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำร้ายสุขภาพของผู้คน
ของเสียอันตรายจากชุมชนยังคงเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมีอันตรายจากโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ทองแดง เป็นองค์ประกอบ ซึ่งขยะอันตรายเกิดขึ้นมากกว่า 6 แสนตันต่อปี ร้อยละ 65 เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค ที่เหลือร้อยละ 35 เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 22 ของขยะอันตรายที่มีนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ปัญหาของเสียอันตรายมาจากประชาชนไม่คัดแยกขยะที่บ้านเรือนและทิ้งผิดประเภท จุดทิ้งของเสียอันตรายมีน้อย บางพื้นที่ไม่มี
แนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนปัจจุบัน วางระบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานโดยเลือกรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม, ให้แยกทิ้งที่ต้นทางหรือจุดทิ้งของเสียอันตรายที่ชุมชนกำหนด, จัดเก็บรวบรวมอย่าง,สร้างสถานที่เก็บกักของเสียอันตรายจากชุมชน จัดภาชนะบรรจุ และมีจังหวัดมารับ-ให้ขนส่งไปยังศูนย์รวบรวมเพื่อส่งกำจัด , จัดส่งไปรีไซเคิล ,ส่งไปบำบัดโรงงานที่ได้รับอนุญาตกำจัดบำบัดของเสียอันตรายตามกฎหมาย